จากการเติบโตของสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นผลทำให้ธุรกิจการขนส่งพืชผลการเกษตรกรรมการคมนาคมประเภทรถโดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นยางรถยนต์จึงมีบทบาทที่สำคัญยิ่งสำหรับการบรรทุก และการโดยสาร จากผลการสำรวจพบว่าคุณสมบัติของยางที่ผู้ใช้ต้องการ คือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทนทานต่อทุกสภาพการใช้งานฉะนั้นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงขอแนะนำให้ท่าน ผู้ใช้ยางได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษายางรถบรรทุกและรถโดยสารว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่าเงินที่ได้จ่ายไป |
|
1. เลือกใช้ขนาด โครงสร้าง ดอกยาง และความลึกของร่องดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
ใช้ยางใน ยางรอง ที่มีขนาดและประเภทเดียวกับยางนอก บางครั้งผู้ใช้บางรายนำเอายางใน ที่มีขนาดเล็กกว่ามาใส่กับยางนอกที่ใหญ่กว่า เช่น ยางในขนาด 9.00 – 20 ใช้กับยางนอกขนาด 10.00 – 20 เมื่อสูบลมก็จะทำให้ยางในที่มีเนื้อยางบางอยู่แล้ว มีการขยายตัวมากกว่าปกติทำให้เสียหายได้ง่าย
โครงสร้างและดอกยาง ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นๆ ต้องคำนึงถึงความลึกของร่อง ดอกยางที่แตกต่างกันด้วย ถึงแม้จะเป็นแบบเดียวกัน ฉะนั้นเพื่อความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งานที่แตกต่างกัน ร่องดอกยางจึงมีทั้งแบบตื้นแบบลึกและแบบลึกเป็นพิเศษ
ทุกๆครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ ถ้าเป็นยางที่ใช้ยางในควรเปลี่ยนยางในยางรองใหม่ทั้งหมด
ใช้กระทะล้อที่มีขนาดเหมาะสมกับยาง
วาล์วเติมลมยางควรมีฝาครอบปิดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่น เศษหิน กรวด ดิน ที่จะเข้าไปแทรกทำให้ลมรั่วซึมได้
2. การบรรทุกน้ำหนัก การบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา จะทำให้ดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็ว , โครงผ้าใบบริเวณขอบยางหักและยางบวมล่อนระเบิดได้ง่าย
การบรรทุกสิง่ของในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ยางเสียหายก่อนกำหนด
1. การใช้ความเร็ว การขับรถด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ ระยะทางในการเบรคหยุดรถเพิ่มมากขึ้น ดอกยางสึกหรอเร็ว เกิดความร้อนในยางเพิ่มมากขึ้น ยางเกิดบวมล่อนและระเบิดได้ง่าย สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ศูนย์ล้อ
โดยปกติแล้วล้อรถจะไม่ได้ตั้งตรงตามแนวดิ่งหรือขนานกับตัวรถ แต่จะเอียงทำมุมกับตัวรถ เพื่อช่วยให้รถวิ่งตรงทิศทางและสะดวกในการบังคับเลี้ยว ดังนั้น มุมล้อหรือศูนย์ล้อจะต้องถูกต้องตามค่าที่กำหนด จึงควรตรวจสอบศูนย์ล้อและช่วงล่างทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และทุกๆ 6 เดือน นอกจากนี้หากศูนย์ล้อผิดปกติจะทำให้ยางสึกไม่เรียบ สึกเร็ว และทำให้ควบคุมพวงมาลัยยาก รถจะเสียการทรงตัวได้ง่าย ปกติแล้วปัญหาศูนย์ล้อจะเกิดกับล้อคู่หน้ามากกว่าล้อคู่หลัง โท-อิน ด้านหน้าของยางหุบเข้าหา กึ่งกลางแนวรถ
| | โท-เอาท์ ด้านข้างของยางกางออก กึ่งกลางแนวรถ
| ถ้าค่ามุมโทผิดพลาดจะทำให้ยางสึกเร็วและสึกบริเวณไหล่ยางเพียงด้านเดียว (ลักษณะปลายดอกยางแต่ละดอกตวัดคล้ายขนนก) | แคมเบอร์ – บวก ด้านล่างของยางหุบเข้าหา กึ่งกลางแนวรถ
| | แคมเบอร์ – ลบ ด้านล่างของยางกางออก จากกึ่งกลางแนวรถ
| ถ้าค่ามุมแคมเบอร์ผิดพลาดจะทำให้ยางสึกบริเวณไหล่ยางเพียงด้านเดียว |
| ถ้าเพลาล้อไม่ได้ศูนย์ ลูกหมากคันชักคันส่งหลวม ลูกปืนล้อหรือสลักล้อหลวม จะทำให้ดอกยางสึกเป็นบั้งๆหรือจ้ำๆ | | แคสเตอร์บวก คือ มุมที่ลูกหมากปืนนกบน หรือด้านบนของช็อคอัพ เอียงออกจากแนวดิ่ง ไปด้านหลังรถ | | แคสเตอร์ลบ คือ การที่แนวจุดหมุนล้อด้านล่าง อยู่แนวดิ่ง ด้านบนของแนวจุดหมุน อยู่หน้าเส้นแนวดิ่ง |
มุมแคสเตอร์ เป็นมุมที่มองจากด้านข้างรถ มีทั้งล้อหน้าและล้อหลัง เป็นมุมที่ช่วยบังคับให้รถวิ่งอยู่บนแนวตรงตลอด และจะคืนมุมล้อให้กลับมาอยู่ในแนวตรงหลังจากการเลี้ยว โดยการคืนมุมล้อเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป จะทำให้ยางเกิดการสึกหรอขึ้นได้ *ถ้าค่ามุมแคสเตอร์ผิดปกติ มีผลทำให้การบังคับพวกมาลัยผิดปกติและดอกยางสึกหรอผิดปกติ
5. การใช้ยางล้อคู่ ในกรณีที่ใช้ยางล้อคู่ ควรใช้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหรือเส้นรอบวงยางเท่ากัน ไม่ควรใช้ยางที่มีความสูงของยางแตกต่างกัน แต่ถ้าจำเป็นก็ควรปฏิบัติตามตัวอย่างต่อไปนี้ ยางขนาด 9.00 ขึ้นไป อนุโลมให้ความสูงของยางต่างกันได้ไม่เกิน 8 มม. หากเป็นยางโครงสร้างผ้าใบธรรมดาสามารถแตกต่างกันได้ถึง 12 มม. ในยางขนาด 8.25 ลงมา ถ้าเป็นยางเรเดียลอนุโลมให้มีความสูงของยางแตกต่างกันได้ 6 มม. หากเป็นยางผ้าใบธรรมดาให้แตกต่างกันได้ 8 มม. อย่างไรก็ตามยางที่มีความสูงไม่เท่ากัน เมื่อนำมาใช้คู่กัน ยางเส้นที่สูงกว่าจะรับน้ำหนักมากกว่า เป็นผลให้ยางชำรุดเสียหายง่าย กรณีใช้ยางที่มีความสูงของยางไม่เท่ากันในเพลาเดียวกัน ยางแต่ละด้านจะทำให้เสียการทรงตัว พวงมาลัยจะฝืนหรือหนักไปด้านล้อที่เล็กกว่า หากใช้เป็นเวลานานจะส่งผลเสียถึงระบบรองรับ (chassis) ของรถคันนั้นด้วย
| กรณีใช้ล้อคู่ ไม่ควรใช้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่างกัน แต่ถ้าจำเป็นก็ควรปฏิบัติตามตัวอย่างข้างล่าง ขนาดยาง ความแตกต่างของเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.00 ขึ้นไป 8 มม. (ยางผ้าใบธรรมดา 12 มม.) 8.25 ลงมา 6 มม. (ยางผ้าใบธรรมดา 8 มม.) | |
6. การสลับตำแหน่งยาง
เมื่อใช้ยางใหม่ไปประมาณ 5,000 – 10,000 กม. จำเป็นจะต้องสลับตำแหน่งของยาง เพื่อให้ได้รับประโยนช์สูงสุดจากการใช้ยาง การสลับตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้า จะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุด การสลับยางช่วยให้ยางสึกเรียบและเท่าเทียมกัน การสลับยางก็เพื่อให้ยางได้หมุนกลับทิศทางกัน เพื่อแก้ปัญหาการสึกไม่เรียบนั่นเอง ยางที่ใช้ในล้อหลังซึ่งเน้นแรงกรุย (ล้อขับเคลื่อน) เมื่อเปลี่ยนไปใช้ล้อหน้าจะทำให้อายุยางยาวขึ้น
7. ลมยาง
การสูบลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลบำรุงรักษายางรถยนต์ ถ้าขาดการดูแลที่ดี ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมีมากมายดังต่อไปนี้
ถ้าสูบลมน้อยไป ยางจะบวมล่อนได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติ คืออาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอก มีความฝืดที่ผิวสัมผัสมาก ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ
ถ้าสูบลมมากเกินไป เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกหรอมาก ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล
การสูบลมของยางล้อคู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสูบลมและรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา หาไม่แล้วยางเส้นที่มีแรงงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่ายสึกเร็วผิดปกติ เส้นที่สูบลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกันหรือสึกอย่างผิดปกติ
การรักษา ความดันยางให้ถูกต้อง
: ไม่ควรปรับความดันลมขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว : ยางเรเดียลต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบ
ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 กก./ซม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 กก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 กก./ซม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 กก. ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 กก./ซม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้นที่สูบลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70 % เส้นที่สูบลมอ่อน จะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45 % การสูบลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสูบลมให้พอดี ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน นอกจากต้องสูบลมให้ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตราฐานของรถยี่ห้อนั้นๆอีกด้วย
การตรวจเช็คลมยางควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรสูบลมยางให้ได้ตามมารตรฐานที่บริษัทรถกำหนด
นอกจากนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้น น้ำมัน และสารเคมีต่างๆ หากท่านสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้นทำให้ประหยัด และเป็นการเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจท่านอีกครั้งหนึ่ง
รอบรู้เรื่องลมยาง เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งาน
การดูแลตรวจสอบลมยางอย่างถูกต้องช่วยคุณได้
1. ลดปัญหาการสึกไม่เรียบของหน้ายาง
2. ลดปัญหาความเสียหายของยาง
3. ยืดอายุการใช้งาน 4. ช่วยประหยัดน้ำมัน 5. ทำให้ยางยึดเกาะถนนอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลมยางน้อยไป | ลมยางมากไป | สิ้นเปลืองน้ำมัน เกิดความร้อนสูงบริเวณไหล่ยาง ทำให้เนื้อยางไหม้ และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน ส่งผลให้ยางบวมล่อนและระเบิด อาจทำให้โครงยาง บริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้ อายุยางลดลง บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าตอนกลางหน้ายาง | เกิดการลื่นไถลได้ง่าย เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทกหรือถูกตำ เนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ การยืดหยุ่นตัวได้น้อย อายุยางลดลง เนื่องจากดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลาง มากกว่าส่วนอื่น ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง |
|