จากการเติบโตของสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นผลทำให้ธุรกิจการขนส่งพืชผลการเกษตรกรรมการคมนาคมประเภทรถโดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นยางรถยนต์จึงมีบทบาทที่สำคัญยิ่งสำหรับการบรรทุก  และการโดยสาร

     จากผลการสำรวจพบว่าคุณสมบัติของยางที่ผู้ใช้ต้องการ คือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและทนทานต่อทุกสภาพการใช้งานฉะนั้นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงขอแนะนำให้ท่าน ผู้ใช้ยางได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษายางรถบรรทุกและรถโดยสารว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนานคุ้มค่าเงินที่ได้จ่ายไป

                                                                                                 

    

                                                                                                              


 

1.  เลือกใช้ขนาด  โครงสร้าง  ดอกยาง  และความลึกของร่องดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

    ใช้ยางใน ยางรอง ที่มีขนาดและประเภทเดียวกับยางนอก  บางครั้งผู้ใช้บางรายนำเอายางใน 

ที่มีขนาดเล็กกว่ามาใส่กับยางนอกที่ใหญ่กว่า  เช่น  ยางในขนาด 9.00 – 20  ใช้กับยางนอกขนาด 10.00 – 20

เมื่อสูบลมก็จะทำให้ยางในที่มีเนื้อยางบางอยู่แล้ว  มีการขยายตัวมากกว่าปกติทำให้เสียหายได้ง่าย

     โครงสร้างและดอกยาง  ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นๆ  ต้องคำนึงถึงความลึกของร่อง

ดอกยางที่แตกต่างกันด้วย  ถึงแม้จะเป็นแบบเดียวกัน  ฉะนั้นเพื่อความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งานที่แตกต่างกัน 

ร่องดอกยางจึงมีทั้งแบบตื้นแบบลึกและแบบลึกเป็นพิเศษ

     ทุกๆครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่  ถ้าเป็นยางที่ใช้ยางในควรเปลี่ยนยางในยางรองใหม่ทั้งหมด

     ใช้กระทะล้อที่มีขนาดเหมาะสมกับยาง

     วาล์วเติมลมยางควรมีฝาครอบปิดอยู่เสมอ  เพื่อป้องกันฝุ่น  เศษหิน  กรวด  ดิน  ที่จะเข้าไปแทรกทำให้ลมรั่วซึมได้


2. การบรรทุกน้ำหนัก


    การบรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา  จะทำให้ดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็ว , โครงผ้าใบบริเวณขอบยางหักและยางบวมล่อนระเบิดได้ง่าย




     การบรรทุกสิง่ของในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ยางเสียหายก่อนกำหนด



1.    การใช้ความเร็ว

    การขับรถด้วยความเร็วสูง  ทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้

     ระยะทางในการเบรคหยุดรถเพิ่มมากขึ้น
    ดอกยางสึกหรอเร็ว
    เกิดความร้อนในยางเพิ่มมากขึ้น
    ยางเกิดบวมล่อนและระเบิดได้ง่าย
    สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

2.    ศูนย์ล้อ

    โดยปกติแล้วล้อรถจะไม่ได้ตั้งตรงตามแนวดิ่งหรือขนานกับตัวรถ  แต่จะเอียงทำมุมกับตัวรถ  เพื่อช่วยให้รถวิ่งตรงทิศทางและสะดวกในการบังคับเลี้ยว  ดังนั้น  มุมล้อหรือศูนย์ล้อจะต้องถูกต้องตามค่าที่กำหนด  จึงควรตรวจสอบศูนย์ล้อและช่วงล่างทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่  และทุกๆ  6  เดือน
    นอกจากนี้หากศูนย์ล้อผิดปกติจะทำให้ยางสึกไม่เรียบ  สึกเร็ว  และทำให้ควบคุมพวงมาลัยยาก  รถจะเสียการทรงตัวได้ง่าย  ปกติแล้วปัญหาศูนย์ล้อจะเกิดกับล้อคู่หน้ามากกว่าล้อคู่หลัง

โท-อิน
ด้านหน้าของยางหุบเข้าหา
กึ่งกลางแนวรถ

โท-เอาท์
ด้านข้างของยางกางออก
กึ่งกลางแนวรถ
ถ้าค่ามุมโทผิดพลาดจะทำให้ยางสึกเร็วและสึกบริเวณไหล่ยางเพียงด้านเดียว
(ลักษณะปลายดอกยางแต่ละดอกตวัดคล้ายขนนก)
แคมเบอร์ – บวก
ด้านล่างของยางหุบเข้าหา
กึ่งกลางแนวรถ

แคมเบอร์ – ลบ
ด้านล่างของยางกางออก
จากกึ่งกลางแนวรถ
ถ้าค่ามุมแคมเบอร์ผิดพลาดจะทำให้ยางสึกบริเวณไหล่ยางเพียงด้านเดียว

ถ้าเพลาล้อไม่ได้ศูนย์  ลูกหมากคันชักคันส่งหลวม  ลูกปืนล้อหรือสลักล้อหลวม
จะทำให้ดอกยางสึกเป็นบั้งๆหรือจ้ำๆ
แคสเตอร์บวก  คือ 
มุมที่ลูกหมากปืนนกบน
หรือด้านบนของช็อคอัพ
เอียงออกจากแนวดิ่ง
ไปด้านหลังรถ

แคสเตอร์ลบ  คือ  

การที่แนวจุดหมุนล้อด้านล่าง
อยู่แนวดิ่ง  
ด้านบนของแนวจุดหมุน
อยู่หน้าเส้นแนวดิ่ง


มุมแคสเตอร์  เป็นมุมที่มองจากด้านข้างรถ  มีทั้งล้อหน้าและล้อหลัง  เป็นมุมที่ช่วยบังคับให้รถวิ่งอยู่บนแนวตรงตลอด  และจะคืนมุมล้อให้กลับมาอยู่ในแนวตรงหลังจากการเลี้ยว  โดยการคืนมุมล้อเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป  จะทำให้ยางเกิดการสึกหรอขึ้นได้
*ถ้าค่ามุมแคสเตอร์ผิดปกติ  มีผลทำให้การบังคับพวกมาลัยผิดปกติและดอกยางสึกหรอผิดปกติ


5.  การใช้ยางล้อคู่
    ในกรณีที่ใช้ยางล้อคู่  ควรใช้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหรือเส้นรอบวงยางเท่ากัน
    ไม่ควรใช้ยางที่มีความสูงของยางแตกต่างกัน  แต่ถ้าจำเป็นก็ควรปฏิบัติตามตัวอย่างต่อไปนี้
    ยางขนาด 9.00 ขึ้นไป  อนุโลมให้ความสูงของยางต่างกันได้ไม่เกิน 8 มม.  หากเป็นยางโครงสร้างผ้าใบธรรมดาสามารถแตกต่างกันได้ถึง 12 มม.  ในยางขนาด 8.25 ลงมา  ถ้าเป็นยางเรเดียลอนุโลมให้มีความสูงของยางแตกต่างกันได้ 6 มม.  หากเป็นยางผ้าใบธรรมดาให้แตกต่างกันได้ 8 มม.
    อย่างไรก็ตามยางที่มีความสูงไม่เท่ากัน  เมื่อนำมาใช้คู่กัน  ยางเส้นที่สูงกว่าจะรับน้ำหนักมากกว่า  เป็นผลให้ยางชำรุดเสียหายง่าย
    กรณีใช้ยางที่มีความสูงของยางไม่เท่ากันในเพลาเดียวกัน  ยางแต่ละด้านจะทำให้เสียการทรงตัว  พวงมาลัยจะฝืนหรือหนักไปด้านล้อที่เล็กกว่า  หากใช้เป็นเวลานานจะส่งผลเสียถึงระบบรองรับ (chassis) ของรถคันนั้นด้วย


กรณีใช้ล้อคู่  ไม่ควรใช้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่างกัน
แต่ถ้าจำเป็นก็ควรปฏิบัติตามตัวอย่างข้างล่าง
ขนาดยาง    ความแตกต่างของเส้นผ่าศูนย์กลาง
9.00 ขึ้นไป    8 มม. (ยางผ้าใบธรรมดา 12 มม.)
8.25 ลงมา    6 มม. (ยางผ้าใบธรรมดา 8 มม.)



6. การสลับตำแหน่งยาง

    เมื่อใช้ยางใหม่ไปประมาณ 5,000 – 10,000 กม.  จำเป็นจะต้องสลับตำแหน่งของยาง  เพื่อให้ได้รับประโยนช์สูงสุดจากการใช้ยาง  การสลับตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของยาง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้า  จะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุด  การสลับยางช่วยให้ยางสึกเรียบและเท่าเทียมกัน
    การสลับยางก็เพื่อให้ยางได้หมุนกลับทิศทางกัน  เพื่อแก้ปัญหาการสึกไม่เรียบนั่นเอง  ยางที่ใช้ในล้อหลังซึ่งเน้นแรงกรุย (ล้อขับเคลื่อน)  เมื่อเปลี่ยนไปใช้ล้อหน้าจะทำให้อายุยางยาวขึ้น




7. ลมยาง

การสูบลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลบำรุงรักษายางรถยนต์  ถ้าขาดการดูแลที่ดี  ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมีมากมายดังต่อไปนี้

   ถ้าสูบลมน้อยไป  ยางจะบวมล่อนได้ง่าย  อายุการใช้งานลดลง  ดอกยางสึกผิดปกติ  คืออาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง  สึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอก  มีความฝืดที่ผิวสัมผัสมาก  ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ

   ถ้าสูบลมมากเกินไป  เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย  อายุการใช้งานลดลง  ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกหรอมาก  ถ่ายเทการสั่นสะเทือนหรือการกระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก  ขาดความนุ่มนวล

   การสูบลมของยางล้อคู่  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสูบลมและรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา  หาไม่แล้วยางเส้นที่มีแรงงดันมากจะรับน้ำหนักมาก  ชำรุดเสียหายง่ายสึกเร็วผิดปกติ  เส้นที่สูบลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อย  การสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกันหรือสึกอย่างผิดปกติ

การรักษา ความดันยางให้ถูกต้อง

:  ไม่ควรปรับความดันลมขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว
:  ยางเรเดียลต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบ


    ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 กก./ซม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว  จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 กก.  ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 กก./ซม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว  จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 กก.  ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 กก./ซม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว  ยางเส้นที่สูบลมมาก  จะมีอายุใช้งานเพียง  70 %  เส้นที่สูบลมอ่อน  จะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง  45 %  การสูบลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
   
    เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสูบลมให้พอดี  ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด  หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน  นอกจากต้องสูบลมให้ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ  ตั้งมุมของล้อหน้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตราฐานของรถยี่ห้อนั้นๆอีกด้วย

    การตรวจเช็คลมยางควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่  และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรสูบลมยางให้ได้ตามมารตรฐานที่บริษัทรถกำหนด

    นอกจากนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ  ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน  แสงแดด  ลม  ฝน  ความชื้น  น้ำมัน  และสารเคมีต่างๆ  หากท่านสามารถปฏิบัติได้ตามนี้  อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้นทำให้ประหยัด  และเป็นการเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจท่านอีกครั้งหนึ่ง


รอบรู้เรื่องลมยาง   เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งาน



การดูแลตรวจสอบลมยางอย่างถูกต้องช่วยคุณได้

   1. ลดปัญหาการสึกไม่เรียบของหน้ายาง
      

   2. ลดปัญหาความเสียหายของยาง
      

   3. ยืดอายุการใช้งาน

   4. ช่วยประหยัดน้ำมัน

   5. ทำให้ยางยึดเกาะถนนอย่างเต็มประสิทธิภาพ


ลมยางน้อยไปลมยางมากไป
สิ้นเปลืองน้ำมัน
เกิดความร้อนสูงบริเวณไหล่ยาง ทำให้เนื้อยางไหม้
      และโครงสร้างยางแยกตัวออกจากกัน
      ส่งผลให้ยางบวมล่อนและระเบิด อาจทำให้โครงยาง
      บริเวณแก้มยางฉีกขาดหรือหักได้
อายุยางลดลง  บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าตอนกลางหน้ายาง
เกิดการลื่นไถลได้ง่าย  เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง
โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทกหรือถูกตำ 
      เนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่  การยืดหยุ่นตัวได้น้อย
อายุยางลดลง  เนื่องจากดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลาง
      มากกว่าส่วนอื่น
ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง